โรงเรียนบ้านนาสาม(เกียรติประชา) ยินดีต้อนรับ

ประวัติโรงเรียน


ประวัติโรงเรียนบ้านนาสาม (เกียรติประชา)



โรงเรียนบ้านนาสาม (เกียรติประชา) เดิมตั้งอยู่บริเวณวัดนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้แยกมาจากโรงเรียนประชาบาลตำบลนาบัว ๑ (วัดนาบัว) เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ และได้อาศัยศาลาวัดนาสามเป็นที่เรียน โดยมีนายแมะ เสาเกลียว เป็นครูสอน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้รับอนุญาตให้แยกออกมาเป็นเอกเทศในนามโรงเรียนประชาบาลตำบลนาบัว ๒ (วัดนาสาม) มีนักเรียนประมาณร้อยคนเศษ มีครู ๓ คน โดยมีนายดอน บุญโสดากร  เป็นครูใหญ่ ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึง พ.ศ.๒๔๗๖ โรงเรียนได้มาอาศัยศาลาโรงธรรมของวัดนาสามเป็นสถานที่เรียนมาโดยตลอดเป็นเวลาร่วม ๒๐ ปี

          พ.ศ.๒๔๘๙ นายมอญ วิจารณ์สัตย์ซึ้ง ตำแหน่งครูใหญ่ได้ริเริ่มให้มีการย้ายโรงเรียนออกจากวัดนาสามมาจัดตั้งในสถานที่ปัจจุบันนี้  ทั้งนี้โดยการขอบริจาคที่ดินจากชุมชน จากผู้มีจิตศรัทธาได้บริจาคที่ดินให้แก่โรงเรียน ควรแก่การจารึกชื่อบุคคลทั้ง ๔ ท่านไว้คือ นายสำเภา บุญกอบ  นายเถือ บุญต่อ  นายปริน บุญกอบ  และนายโด่ง เปล่งชัย ซึ่งมีเนื้อที่รวม ๑๔ ไร่ โดยมีการหักร้างถางพงบุกเบิกสถานที่เพื่อให้เป็นทำเลสำหรับการสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นมา โดยมีการทยอยย้ายนักเรียนที่อาคารชั่วคราวนี่ในปี พ.ศ.๒๔๙๒  ทำการย้ายนักเรียน ป.๓ และ ป.๔ มาเรียนก่อน จนกระทั้งการสร้างอาคารเรียนชั่วคราวอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงพอสมควร จึงได้ทำการย้ายมาเรียน ณ สถานที่ดังกล่าวเป็นการถาวร

          พ.ศ. ๒๔๙๓ คณะครูได้ร่วมกันบริจาคจำนวนเงินจำนวน ๕๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนประเดิมสำหรับสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น โดยนำเงินจำนวนดังกล่าวมอบถวายแด่เจ้าอาวาสวัดนาสาม เพื่อให้ท่านเป็นปรานในการหาทุนเพิ่มเติมในการนี้ต่อไปให้สำเร็จ  เจ้าอาวาสวัดนาสามจึงได้เชิญชวนราษฎรให้ช่วยกันลงแรงทำนาที่บริเวณหนองน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มจำนวน ๓ แปลงเมื่อได้ผลผลิตมาแล้วนำไปจำหน่ายได้เงินงบประมาณ ๕,๐๐๐ บาทเศษ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาท) เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนถาวรแบบปั้นหยา ๒ มุข ใต้ถุนสูง หลังคามุงสังกะสี พร้อมนำวัสดุอุปกรณ์จากภายนอกมาสมทบเพื่อให้สามารถสร้างอาคารเรียนให้สำเร็จและเสร็จเรียบร้อย สมารถเปิดการสอน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทั้งนี้โดยการนำของพระครูธรรมกิจวิธาน (หลวงพ่อเกียรติ์ สิริไสย์) เจ้าอาวาสวัดนาสาม ทางการเห็นว่าเพื่อเป็นเกียรติ์ประวัติสืบไปในภายหน้า จึงได้ขนานนามโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนบ้านนาสาม (เกียรติประชา)สังกัดกองศึกษาประชาบาล กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

          ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๕ นายสมาน กลีบแก้ว ได้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาสาม (เกียรติประชา) ได้มีการปรับปรุงงานพัฒนางานวิชาการและอาคารสถานที่ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาอย่างมาก กระทั่งในปี ๒๕๐๖ จึงได้รับอนุมัติให้เปิดขยายโอกาสการเรียนการสอนในระดับประถมปลาย โดยเปิดการสอนตั้งแต่ชั้น ป.๑ – ป.๗ นับเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายแห่งแรกระดับตำบลของจังหวัดสุรินทร์

          ปีการศึกษา ๒๕๐๘ กระทรวงศึกษาได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน ๑๔๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบสามัญ ๐๐๘ ขนาด ๔ ห้องเรียน นับเป็นอาคารถาวรหลังที่ ๒ ของโรงเรียนและในโอกาสต่อมา ก็ได้รับงบประมาณมาต่อเติมอาคารนี้ทางด้านปีกซ้ายของอาคารเรียนเพิ่มจำนวน ๔ ห้องเรียน ตลอดจนได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อสร้างบ้านพักครูหนึ่งหลัง ห้องส้วมแบบสามัญ ๔๐๑ ขนาด ๔ ที่นั่ง ๑ หลัง โรงอาหาร ๑ หลัง และโรงฝึกงาน ๑ หลัง

          ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙ ได้รับการโอนการศึกษาจากโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รวมระยะเวลา ๑๔ ปี

          ๑๗ เมษายน ๒๕๑๑ ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารเรียนทรงปั้นหยา  ๒ มุขด้วยเหตุของความชำรุดทรุดโทรม ในการรื้อถอนดังกล่าวนี้ได้นำวัสดุอุปกรณ์ที่ยังพอใช้การได้สมทบกับวัสดุใหม่ที่มีนำไปสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ฉ ใต้ถุนต่ำ ขนาด ๖ ห้องเรียนมีมุขกลาง ในวงเงินประมาณทั้งสิ้น ๑๘๐,๐๐๐ บาท

          ๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ ได้มีการโอนการศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) กระทรวงศึกษาธิการ

          ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๗  นายสมาน  กลีบแก้ว  ย้ายไปช่วยราชการที่อำเภอเมือง ในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอเมืองสุรินทร์ มอบให้นายปราโมทย์  ศิริพูน ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ในระหว่างนี้โรงเรียนได้รับอนุมัติงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ให้สร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ฉ (ใต้ถุนสูง) ขนาด ๓ ห้องเรียน  จากนั้นก็ได้งบประมาณต่อเติมชั้นล่าง จำนวน ๓ ห้องเรียน จนแล้วเสร็จเป็นอาคารแบบถาวรแบบ ๒ ชั้น

          พ.ศ. ๒๕๒๓ นายชาตรี ผลเกิด ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และในปีเดียวกันก็ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนหนองโตง สุรวิทยาคมพร้อมกับนายปราโมทย์  ศิริพูน ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ และนายลอย  สุดเส้นงา ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน

          พ.ศ.๒๕๒๔ นายลอย  สุดเส้นงา  ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนหนองโตง สุรวิทยาคม โดยมีนายชาตรี  ผลเกิด ย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่อีกครั้ง จนถึงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๙ และในปีเดียวกันนายชาตรี ผลเกิด ได้ลาออกจากราชการ

          ๑ มิถุนายน ๒๕๒๙ นายนพวงศ์ เมืองไทย ได้ยายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทนนายชาตรี ผลเกิด ที่ลาออกไป และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๙ จึงย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนบักจรัง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอกาบเชิง และในปีการศึกษา ๒๕๓๙ นี้โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา พร้อมได้รับการสนับสนุนงบประมาณจัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษา เพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

          ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๙ นางเบญจลักษณ์  เห็นได้ชม ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทนนายนพวงศ์  เมืองไทย

          ปีการศึกษา ๒๕๔๐ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ได้สั่งการให้โรงเรียนเปิดการสอนระดับชั้นอนุบาล ๓ ขวบ โดยรับการสนับสนุนร่วมมือจากชุมชน ในการหาเงินสนับสนุนการศึกษา ซึ่งโรงเรียนได้รับบริจาคเงินสร้างห้องน้ำห้องส้วมสำหรับเด็กอนุบาล (๓ ขวบ) จำนวน ๑ หลัง มูลค่า ๓,๗๐๐๐ บาท พร้อมทั้งได้ทำการการปรับปรุงขยายต่อเติมโรงอาหารออกทั้ง ๒ ด้าน เพื่อเป็นสถานที่รับประทานอาหารของนักเรียนให้พอเพียง ในปีการศึกษาต่อมาทางราชการได้มอบหมายให้ อบต. เป็นผู้ดูแลการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  (๔ -๕ ขวบ)

          ปีการศึกษา ๒๕๔๑ โรงเรียนได้ปรับปรุงซ่อมแซม และสร้างรั้วโรงเรียนใหม่แทนรั้วเก่าที่ชำรุดผุพัง โดยการช่วยเหลือสนับสนุนจากคณะครูและชุมชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างจนแล้วเสร็จ โดยมีนายเปลื้อง  เรียบร้อย และนายประสาน บุญสุยา  ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่เป็นแรงสำคัญในการระดมทุน และดูแลการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

          ปีการศึกษา ๒๕๔๘ โรงเรียนร่วมกับครู และผู้ปกครอง ร่วมการจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา ได้งบประมาณมาใช้ในการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษามหาราชินี เพื่อเป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นอนุบาล เนื่องจากอาคารเรียนไม่เพียงพออีกทั้งอาคารเรียนที่มีอยู่เดิมเก่า ผุพัง ไม่สามารถใช้เรียนได้ การก่อสร้างแล้วเสร็จจนสามารถเปิดใช้ทำการเรียนการสอนได้ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๘

          ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนได้ก่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง ขนาด ๒ ห้องเรียน โดยการใช้วัสดุที่รื้อถอนจากอาคารเรียนเก่าที่ได้รับอนุมัติรื้อถอน ส่วนในการก่อสร้างนั้น โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินการจากคุณ สุรีวรรณ ปัญญายงศ์  และจากคณะจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จำนวนเงิน ๒๑๖,๑๗๙ บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นหกพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบเก้าบาทถ้วน)  พร้อมคณะครูสบทบ จำนวน ๔๕,๕๐๐ (สี่หมื่นห้าพันห้าร้อยบาท)  การก่อสร้างได้แล้วเสร็จ สมารถใช้การเรียนการสอนได้ เมื่อวันที่       ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๐

          ปี ๒๕๕๐ โรงเรียนบ้านนาสาม (เกียรติประชา) ได้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑  เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปี่ที่ ๑ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนางเบญจลักษณ์ เห็นได้ชม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และในปีเดียวกันนี้ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกอารักษ์ อำเภอเมือง สพท.สุรินทร์ เขต ๑

          วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ นายเกียรติศักดิ์  ประจุทรัพย์  ได้ย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาสาม (เกียรติประชา) จนถึงปัจจุบัน

          ปัจจุบันโรงเรียนบ้านนาสาม (เกียรติประชา) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับ ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีจำนวนนักเรียน ๒๖๓ คน ข้าราชการครู ๑๓ คน นักการภารโรง ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ๑ คน โดยมีนายเกียรติศักดิ์ ประจุทรัพย์ ดำรงตำแน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีจำนวนหมู่บ้านในเขตบริการ จำนวน ๕ หมู่ ดังนี้

          ๑. หมู่ ๖ บ้านนาสาม,ตะตึงไถง

          ๒. หมู่ ๙ บ้านสะเดา,ตะงอล ,โคกสวาย

                ๓. หมู่ ๑๓ บ้านปอยตะแบง,โสน

          ๔. หมู่ ๑๔ บ้านตังกอ

          ๕. หมู่ ๑๗ บ้านไทรทาบ,โคกกาบเจ็น



รายนามผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งโรงเรียนบ้านนาสาม (เกียรติประชา) ดังนี้

          ๑. นายดอน  บุญโสดากร                    ๒. นายหรุ่น  สายแก้ว

          ๓. นายนึก  พรหมสำราญ                    ๔. นายนึก  เนตรพระ

          ๕. นายมอญ วิจารญสัตย์ซึ้ง                  ๖. นายปลอด  วรมากุล

          ๗. นายมอญ วิจารญสัตย์ซึ้ง                  ๘. นายสมาน  กลีบแก้ว

          ๙. นายชาตรี  ผลเกิด                         ๑๐. นายลอย  สุดเส้นงา

          ๑๑. นายชาตรี  ผลเกิด                       ๑๒. นายนพวงศ์  เมืองไทย

          ๑๓. นางเบญจลักษณ์  เห็นได้ชม             ๑๔. นายเกียรติศักดิ์  ประจุทรัพย์